ความรู้เรื่องการแต่งงาน เคล็ดลับการครองเรือน

การแต่งงานตามแบบไทย - การกั้นประตู และรับขันหมาก

 

การกั้นประตู

           เป็นอีกเรื่องที่แรกเริ่มเดิมทีเป็นไปเพื่อความสนุก แต่ภายหลังแทบจะเป็นองค์ประกอบหลักของงานแต่งงานไปทีเดียว การกั้นประตู คือการขวางทางขบวนขันหมากฝ่ายเจ้าบ่าวไว้เมื่อเคลื่อนเข้ามาในเขตบ้านเจ้าสาว โดยใช้คนสองคนถือสิ่งของที่มีลักษณะยาวออกกางกั้นไว้ หากไม่มอบของกำนัลให้ ก็จะไม่ยอมให้ผ่านเข้าไปได้ การกั้นประตูจะต้องทำโดยญาติพี่น้องหรือลูกหลานในครอบครัวเจ้าสาว ส่วนใหญ่มักทำกัน 3 ครั้ง ครั้งแรกใช้ผ้ากางกั้นไว้ เรียกว่าประตูชัย ประตูที่สองใช้ผืนแพร เรียกว่า ประตูเงิน

สุดท้ายกั้นด้วยสายสร้อยทอง เรียกว่า ประตูทอง ในแต่ละประตู เถ้าแก่ ของเจ้าบ่าวจะต้องเจรจาเพื่อมอบของขวัญ (ส่วนมากนิยมใช้ซองใส่เงิน) ก่อนจะผ่านประตูไปได้ ซึ่งมูลค่าของขวัญมักจะต้องสูงขึ้นตามลำดับด้วย

การรับขันหมาก


           เมื่อขบวนขันหมากผ่านเข้ามาจนถึงตัวบ้านแล้ว ฝ่ายเจ้าสาวต้องส่งเด็กผู้หญิงถือพานบรรจุหมากพลูออกมาต้อนรับเถ้า แก่ฝ่ายเจ้าบ่าว เพื่อเป็นการรับขันหมากและเชิญให้เข้าสไปข้างใน เมื่อผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวออกมาต้อนรับพูดคุย และรับรู้เครื่องของในขบวนแล้ว ก็รับข้าวของเหล่านั้นไว้ และทำการเปิดเตียบ (ในกรณีที่มีเตียบในขบวน) เพื่อจุดธุปเซ่นไหว้ต่อไป รายละเอียดขั้นตอนต่างๆ แต่ละท้องถิ่นก็ต่างกันไป ถ้าจะว่ากันโดยสรุปแล้ว เมื่อผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวนับสินสอดครบถ้วนแล้ว ก็ต่อด้วยการให้เจ้าสาว กราบผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย แล้วจัดการเลี้ยงอาหารแขกที่มาร่วมงาน ซึ่งการเตรียมอาหารเป็นหน้าที่ของฝ่ายเจ้าสาว จากนั้นแจก ของขวัญหรือซองเงินให้คนยกขันหมากมาในขบวน (รวมทั้งให้ตัวเถ้าแก่ฝ่ายชายด้วย)

Copyrights © 2012 | Tel.082-250-9499 | Fax.032-743-100 | E-mail: sales@klonggift.com | Design by Krit DaddyRock